วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติกาชาดและยุวกาชาดสากล

ประวัติกาชาดและยุวกาชาดสากล
     ผู้ให้กำเนิดการกาชาด
            จองอังรีดูนังต์ ( Jean Henry Dunant )เป็นชาวสวิสเกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ได้เกิด
สงครามที่หมู่บ้านซอลฟาริโน ในประเทศอิตาล เป็นสงครามระหว่างพระเจ้านโปเลียนที่3กับพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่2 กษัตริย์แห่งชาดิเนียกับ
จักรพรรดิฟรานซิสโจเซฟที่1แห่งออสเตรีย ขณะสงครามจองอังรี ดูนังต์ ได้เดินทางผ่านพบเห็นเหตุการณ์ที่มีการสู้รบที่รุนแรงมีผู้บาดเจ็บเป็น
จำนวนมากจึงได้ให้การช่วยเหลือโดยขอร้องชาวบ้านหมู่บ้านซอลฟาริโนมาช่วยกันรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย
            หลังจากเหตุการณ์ที่หมู่บ้านซอลฟาริโน เขาได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า "ความทรงจำแห่งหมู่บ้านซอลฟาริโน" ในหนังสือได้กล่าวถึงความเป็น
ไปที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยดูแลทหารบาดเจ็บยามสงคราม ความคิดของ จอง อังรีดูนังต์ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุม
สมาคมสงเคราะห์สาธารณแห่งเจนีวาที่ประชุมตั้งอนุกรรมการ5คน"Committee Of Five" ซึ่งทฃมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2406 เรียกตนเองว่า "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อการบรรเทาทุกข์นักรบบาดเจ็บ" หลังจากนี้อีก18ปีคือปีพ.ศ.2423ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
"คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ"รัฐบาลสิสเซอร์แลนด์จัดประชุมนานาชาติขึ้นมีประเทศอื่นๆในยุโรปเข้าร่วมประชุม12ประเทศผลจากที่
ประชุมได้ตกลงกันภายฬต้ "อนุสัญญาเจนีวา" มีสาระสำคัญในการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบจะได้รับการคุ้มครองภายใต้ เครื่องหมายกาบาทแดงบนพื้นขาว อนุสัญญาเจนีวาทั้ง4ฉบับมีสาระสำคัญดังนี้
        อนุสัญญาฉบับที่1 ว่าด้วยความช่วยเหลือที่ให้แก่ทหารบาดเจ็บและป่วยในสนามรบ
        อนุสัญญาฉบับที่2 ว่าด้วยความช่วยเหลือทหารที่ได้รับาดเจ็บ
        อนุสัญญาฉบับที่3 ว่าด้วยการปฎิบัติต่อเชลยศึก
        อนุสัญญาฉบับที่4 ว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนยามสงคราม
สัญลักษณ์การกาชาด
                 กากบาทแดงบนพื้นขาวใช้ในประเทศทั่วไปเป็นรูปกาบาทแดง 5 รูป
 
            img1.gif          ซีกวงเดือนแดง ( RED CRESCENT) ใช้เฉพาะกลุมที่นับถือศาสนาอิสลาม


ประวัติความเป็นมา          วันกาชาดสากล เกิดขึ้นภายใต้แรงผลักดันของ ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นายธนาคารชาวสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากที่เขาได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 โดยเกิดการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี ทำให้มีทหารบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล เขาจึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียน มาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู

          ครั้นเมื่อเขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา ญัง อังรี ดูนังต์ ได้นำแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ดังกล่าว มาถ่ายทอดผ่านหนังสือ "ความทรงจำที่ซอลเฟริโน" ขึ้น ทั้งนี้ มีใจความสำคัญระบุตอนหนึ่งว่า "จะเป็นไปไม่ได้หรือ ที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือดูแลทหารบาดเจ็บในสงคราม" และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เพราะเมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ เพราะอาสาสมัครเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ อีกด้วย

          จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา โดยมีผู้แทนจาก 16 ประเทศ เข้าร่วมประชุม กระทั่งนำไปสู่การก่อตั้งสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2406  พร้อมกันนี้ ได้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาดเจ็บ"
ขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันคือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The Internation Committee of the Red Cross หรือ ICRC)

          ทั้งนี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ วันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ นายอังรี  ดูนังต์ เป็นวันกาชาดโลก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น