วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

mv เพลงกลัวที่ไหน






ประวัติกาชาดและยุวกาชาดสากล

ประวัติกาชาดและยุวกาชาดสากล
     ผู้ให้กำเนิดการกาชาด
            จองอังรีดูนังต์ ( Jean Henry Dunant )เป็นชาวสวิสเกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ได้เกิด
สงครามที่หมู่บ้านซอลฟาริโน ในประเทศอิตาล เป็นสงครามระหว่างพระเจ้านโปเลียนที่3กับพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่2 กษัตริย์แห่งชาดิเนียกับ
จักรพรรดิฟรานซิสโจเซฟที่1แห่งออสเตรีย ขณะสงครามจองอังรี ดูนังต์ ได้เดินทางผ่านพบเห็นเหตุการณ์ที่มีการสู้รบที่รุนแรงมีผู้บาดเจ็บเป็น
จำนวนมากจึงได้ให้การช่วยเหลือโดยขอร้องชาวบ้านหมู่บ้านซอลฟาริโนมาช่วยกันรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย
            หลังจากเหตุการณ์ที่หมู่บ้านซอลฟาริโน เขาได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า "ความทรงจำแห่งหมู่บ้านซอลฟาริโน" ในหนังสือได้กล่าวถึงความเป็น
ไปที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยดูแลทหารบาดเจ็บยามสงคราม ความคิดของ จอง อังรีดูนังต์ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุม
สมาคมสงเคราะห์สาธารณแห่งเจนีวาที่ประชุมตั้งอนุกรรมการ5คน"Committee Of Five" ซึ่งทฃมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2406 เรียกตนเองว่า "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อการบรรเทาทุกข์นักรบบาดเจ็บ" หลังจากนี้อีก18ปีคือปีพ.ศ.2423ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
"คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ"รัฐบาลสิสเซอร์แลนด์จัดประชุมนานาชาติขึ้นมีประเทศอื่นๆในยุโรปเข้าร่วมประชุม12ประเทศผลจากที่
ประชุมได้ตกลงกันภายฬต้ "อนุสัญญาเจนีวา" มีสาระสำคัญในการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบจะได้รับการคุ้มครองภายใต้ เครื่องหมายกาบาทแดงบนพื้นขาว อนุสัญญาเจนีวาทั้ง4ฉบับมีสาระสำคัญดังนี้
        อนุสัญญาฉบับที่1 ว่าด้วยความช่วยเหลือที่ให้แก่ทหารบาดเจ็บและป่วยในสนามรบ
        อนุสัญญาฉบับที่2 ว่าด้วยความช่วยเหลือทหารที่ได้รับาดเจ็บ
        อนุสัญญาฉบับที่3 ว่าด้วยการปฎิบัติต่อเชลยศึก
        อนุสัญญาฉบับที่4 ว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนยามสงคราม
สัญลักษณ์การกาชาด
                 กากบาทแดงบนพื้นขาวใช้ในประเทศทั่วไปเป็นรูปกาบาทแดง 5 รูป
 
            img1.gif          ซีกวงเดือนแดง ( RED CRESCENT) ใช้เฉพาะกลุมที่นับถือศาสนาอิสลาม


ประวัติความเป็นมา          วันกาชาดสากล เกิดขึ้นภายใต้แรงผลักดันของ ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นายธนาคารชาวสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากที่เขาได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 โดยเกิดการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี ทำให้มีทหารบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล เขาจึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียน มาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู

          ครั้นเมื่อเขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา ญัง อังรี ดูนังต์ ได้นำแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ดังกล่าว มาถ่ายทอดผ่านหนังสือ "ความทรงจำที่ซอลเฟริโน" ขึ้น ทั้งนี้ มีใจความสำคัญระบุตอนหนึ่งว่า "จะเป็นไปไม่ได้หรือ ที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือดูแลทหารบาดเจ็บในสงคราม" และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เพราะเมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ เพราะอาสาสมัครเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ อีกด้วย

          จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา โดยมีผู้แทนจาก 16 ประเทศ เข้าร่วมประชุม กระทั่งนำไปสู่การก่อตั้งสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2406  พร้อมกันนี้ ได้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาดเจ็บ"
ขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันคือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The Internation Committee of the Red Cross หรือ ICRC)

          ทั้งนี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ วันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ นายอังรี  ดูนังต์ เป็นวันกาชาดโลก 

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช



  • พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
  • พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
  • พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
          H.M.K picture นอกเหนือไปจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่นๆ ที่ได้เคยจัดพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ ของแต่ละคน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ เพื่อสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
          ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่างๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กนักเรียน ได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคู่กันไป อันจะทำให้เยาวชนของชาติ นอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังจะทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต
          โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้นๆ กับราษฎรเจ้าของท้องที่อีกโสตหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินงานจัดสร้างโรงเรียน ทางฝ่ายทหารได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และฝ่ายศึกษาธิการ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่สุด ซึ่งปรากฎว่าราษฎรในท้องที่ที่มีการสร้างโรงเรียน ได้พากันร่วมอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ตลอดจนอุทิศทุนทรัพย์สมทบเป็นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
 

          โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุขของประเทศ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ หลายประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศไทย กับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้น ที่มีความสัมพันธ์อันดีอยู่แล้ว ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทย ไปยังประเทศต่างๆ นั้นด้วย ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างไกลมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล และประเทศต่างๆ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีนั้น มีดังนี้
    H.M.K picture  
  • เวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ ธันวาคม ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรก ในรัชกาลปัจจุบัน
  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๘-๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓
  • สหภาพพม่า ระหว่างวันที่ ๒-๕ มีนาคม ๒๕๐๓
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  • อังกฤษ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  • สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม - ๒ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒ช-๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • เดนมาร์ก ระหว่างวันที่ ๖-๙ กันยายน ๒๕๐๓
  • นอร์เวย์ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ กันยายน ๒๕๐๓
  • สวีเดน ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กันยายน ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน - ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • เบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ ๔-๗ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • ลักเซมเบอร์ก ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • เนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • สเปน ระหว่างวันที่ ๓-๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๒ มีนาคม ๒๕๐๕
  • สหพันธรัฐมลายา ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๕
  • นิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๖ สิงหาคม ๒๕๐๕
  • ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๒๖ สิงหาคม - ๑๒ กันยายน ๒๕๐๕
  • ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๕ มิถุนายน ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐจีน ระหว่างวันที่ ๕-๘ มิถุนายน ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ ๙-๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗
  • สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๘ สิงหาคม ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๒ ตุลาคม ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • อิหร่าน ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ เมษายน ๒๕๑๐
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๖-๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๐ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • แคนาดา ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๐
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๘-๙ เมษายน ๒๕๓๗
          เมื่อเสร็จสิ้นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ แล้ว ก็ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ที่เป็นประมุขของประเทศต่างๆ ที่เสด็จและเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะทั้งหลาย ต่างก็ประทับใจในพระราชวงศ์ของไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยอย่างทั่วหน้า
 

          H.M.K picture ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้ป่วยไข้ได้ทันที
          นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด็กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่าในการแพทย์เคลื่อนที่
          สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมวัดทุกแห่ง ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางของชุมชนในชนบท โดยจะพระราชทานกล่องยาแก่วัด เพื่อพระภิกษุใช้เมื่อเกิดอาพาธ และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรผู้ป่วยเจ็บในหมู่บ้านนั้นๆ ส่วนในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมหน่วยทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร ที่ออกไปตั้งฐานปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดาร ก็จะพระราชทานสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ รวมทั้งยารักษาโรคสำหรับใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ และใช้ในการรักษาพยาบาล และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรในท้องที่ ที่มาขอความช่วยเหลือ อันจะทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม และประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการ ได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
          ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นผู้แนะนำสถานที่และร่วมเดินทางไปด้วย สำหรับราษฎรผู้เจ็บป่วยรายที่มีอาการหนัก หรือจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจรักษาเพิ่มเติมนั้น ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระราชดำเนิน ทำการบันทึกรายชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และอาการโดยละเอียด โดยตรวจสอบความถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และมีสำเนาให้รับทราบเพื่อติดต่อประสานงานต่อไป ในการพิจารณาส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ตามความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจ

ประวัติวันลอยกระทง

ประวัติ
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมี นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทีนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1
ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี
ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"
ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมา แม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและ อากาศเริ่มเย็นลง ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีป เป็นรูปดอกบัวบานขึ้น ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึงงานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
    • จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า "สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป" ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมือง
    • จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
    • จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
    • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
    • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ

  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้

  • วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    จิตสาธารณะ






            เก็บขยะภายในบริเวณโรงเรียน  ทำให้บริเวณภายในโรงเรียนสะอาด ถูกสุขลักษณะน่าอยู่ยิ่งขึ้น ปลูกฝังนักเรียนให้มีความคิดเพื่อส่วนรวม

    วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553